บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2017

เสาทั้ง 4 ในอุโบสถ ณ วัดบรมราชาฯ (เล่งเน่ยยี่2)

รูปภาพ
" ตุ้ยเลี้ยง (對聯) " คือ เสาขนาดใหญ่ จำนวน ๔ ต้น อยู่ทางด้านข้างของพระประธานทั้งสองด้าน เสาด้านละ ๒ ต้น เป็นแผ่นไม้สักครึ่งวงกลม ขนาดความสูงประมาณ ๘ เมตร เสาแต่ละต้นมีกลอนอักษรจีน จำนวนเสาละ ๑๕ ตัวอักษร แกะสลักปิดทองอย่างงดงามอักษรจีนนี้ เป็นลายสือศิลป์ของท่านเทพอักษรจีน หวังซีจือ 晉王義之 นำมาขยายใหญ่ กลอนจีนทั้งหมดนี้ ประพันธ์โดย อาจารย์ หลินหวินเฟิง 林雲峰 การแต่งกลอนที่มีชื่อเสียง จากประเทศสิงคโปร์ แปลและเรียบเรียงโดย อาจารย์ นิธิวุฒิ ศรีบุญชัยชูสกุล ประพันธ์โคลงโดย ธรรมนูญ จรัสวัฒน์ และคณะ เสาคู่ใน ใกล้องค์พระประธาน มีคำกลอนจีน ๑๕ ตัวอักษร เริ่มต้นด้านขวาคือ คำว่า 大 ด้านซ้าย คำว่า 雄 (大 雄 ) หมายถึง พระประธาน ๓ องค์ ที่ประดิษฐานในพระอุโบสถ แปลเป็นร้อยแก้วว่า บัลลังก์แห่งธรรมจักรพระมหายูไล หมุนเครื่องเปล่งรัศมีเรืองรองหมื่นลี้ พระอุโบสถศักดิ์สิทธิ์อลังการ งานสร้าง เทพอารามเด่นสง่าประทีปธรรม กลิ่นกระจายหอมสืบชั่วกาลนาน ประพันธ์เป็นโคลงสี่สุภาพ บัลลังก์ธรรมจักรเจ้า เรืองรอง โพธิธรรม รัศมีเคลื่อนหมุนเพียงครอง ครอบหล้า อลังก์อุโบสถสนอง งามเด่น

พระประธานวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ

รูปภาพ
พระประธาน 3 พระองค์ คือ พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า  เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบั น พระอมิตาภพุทธเจ้า และ พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้ า  เป็นพระพุทธเจ้าในอดีต พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์นี้ เป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสร ณ์ฯโดยเปรียบเสมือน เป็นศูนย์กลางของพุทธจักรวา ลที่กว้างใหญ่ ไพศาลมีเหล่าพระโพธิสัตว์  พระอรหันต์และเทพธรรมบาลราย ล้อมอยู่ เป็นจำนวนอเนกอนันต์ในพุทธจั กรวาลแห่งนี้ องค์พระประธานแต่ละองค์ ความสูง จากวัชรบังลังค์ถึงยอดพระเก ศา ๔ เมตร ๓๐ เซนติเมตร กว้าง ๓ เมตร ๔ เซนติเมตร พระประธาน จำลองมาจากพระประธานในพระอุโบสถ วัดมังกรกมลาวาส ( เล่งเน่ยยี่ ) ซึ่งปัจุบันถือว่า เป็นพระประธานที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย  เป็นพุทธศิลป์จีนที่มีพุทธลั กษณ์งดงาม พระพักตร์มีลักษณะมหาเมตตา มหากรุณา  องค์พระมีพุทธลักษณะที่เด่น เป็นสง่าและงดงามอย่างยิ่ง พระศากยมุนีพุทธเจ้า 南無釋迦牟尼佛 พระศากยมุนีพุทธเจ้า คือพระสมณโคดม พุทธเจ้า องค์เดียวกับที่ศาสนิกชน ชาวไทยทั้งหลายเคารพ กราบไหว้บูชา มีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ หรือ สิทธารถะ  ประสูติในสกุลกษัตริย์พระเจ้ าสุทโธทนะ  เป็นพระราชบิดา และพร

ประวัติวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

รูปภาพ
ประวัติ      วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ เดิมเป็นโรงเจขนาดเล็ก บนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ต่อมาคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย โดยวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) ได้มอบหมายให้พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) เป็นประธานดำเนินการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ และพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก) เป็นประธานที่ปรึกษาการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ โดยเปิดให้พุทธบริษัทชาวไทย-จีน ได้ร่วมบุญ ในการจัดสร้าง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสดังกล่าว           โดยมีนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง เป็นผู้ดำเนินการขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างวัดฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า  วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์  โดยเมื่อเวลา 15.00 น. วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์วัด ปัจจุบัน วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ ได้จัดสร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการกว่า 12

ประวัติวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) กรุงเทพฯ

รูปภาพ
วัดมังกรกมลาวาส  มีชื่อจีน  “ วัดเล่งเน่ยยี่ ”  ในภาษาจีนแต้จิ๋ว คำว่า  “ เล่ง ”  แปลว่า มังกร , คำว่า  “ เน่ย ”  แปลว่า ดอกบัวและคำว่า  “ ยี่ ”  แปลว่า อารามหรือวัด ทางด้านหน้าของวัดติดกับถนนเจริญกรุงนั้น เป็นบริเวณย่านการค้า ของชาวไทยเชื้อสายจีนตลอดสาย ด้านหน้าทางเข้าวัดมีร้านขายของเครื่องเซ่นไหว้และขนมต่างๆ เมื่อเดินเข้ามาภายในบริเวณวัดจะเป็นลานกว้าง ด้านหน้าจะเป็นวิหารท้าวจตุโลกบาล ทางด้านขวามือจะเห็นศาลเจ้า ส่วนทางด้าน ซ้ายมือจะมีศาลา และเมื่อหันหลังกลับไปจะเห็นตึก 9 ชั้น ที่มีชื่อว่า  “ ตึกพิพิธภัณฑ์วัตถุธรรม ”  ซึ่งเริ่มก่อสร้าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ภายใต้การควบคุมของวิศวกรรมยุทธโยธากองทัพบกและผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะจีนตึกนี้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ และมี โรงเรียนมังกรกมลาวาสวิทยาลัย ที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2533 โดยพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ ( ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว )  เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมสายสามัญศึกษาของวัดมังกรกมลาวาสที่มีการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 และยังเป็นโรงเรียนแห่งแรกของคณะสงฆ์จีนในประเทศไทยอีกด้วย           สถาปัตยกรรมของวัดมังกรกมลาวาสนั้น เป็น